แวะมาแปะที่เที่ยวแบบ one day trip อีกอันที่น่าสนใจค่ะ
เป็นสถานที่ที่ใช้เวลาในการเข้าชมไม่นานมากนัก
พิจารณาทั่ว ๆ สัก 2-3 ชม ก็น่าจะอิ่มเอมแล้ว
" บ้านพิพิธภัณฑ์ " House of museums
ตั้งอยู่ในเขตทวีวัฒนา พุทธมณฑล สาย2 เปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ปี 2544
เปิดเฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลาสิบโมงเช้าถึงห้าโมงเย็น
ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่คนละ 40 บาท เด็กสูงเกิน 110 cm 10 บาท
อาคารพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ในซอยเล็ก ๆ
ลักษณะเป็นเหมือนบ้านเดี่ยวหลังใหญ่ มากกว่าพิพิธภัณฑ์ทั่ว ๆ ไปที่เราคุ้นเคย
ด้านหน้า มีร้านกาแฟ ขายเครื่องดื่มกับขนม
พี่อ้ออุดหนุนโกโก้เย็นมาลองชิม รสชาติดี เข้มข้นเชียวแหล่ะ
ผลักประตูเข้าไปด้านใน ชั้นแรก มีข้าวของมากมาย ให้เราย้อนรำลึกถึงวัยเยาว์
ความทรงจำสีจ๊างงง จาง ค่อย ๆ ถูกปรับโฟกัสให้ชัดขึ้น ชัดขึ้น
ของเล่น ขนม ตุ๊กตา โปสการ์ด หนังสือ ร้านค้า นี่มันของในชีวิตวัยเด็กทั้งนั้นเลย
ร้านขายอุปกรณ์การเรียน เครื่องเขียน
ร้านทำฟัน
อันนี้ชอบ ๆ น้ำแข็งไสสุดคลาสสิค
ขายเครื่องดื่ม น้ำชา กาแฟ
เครื่องพิมพ์ดีด ไม่สะดุดใจเท่า เยลโล่เพจเจด
มีประโยชน์มากกว่าค้นหาเบอร์โทรศัพท์ ใช้ทับกระเป๋า กั้นประตู ฯลฯ
ปิดตัวลงพร้อม ๆ กับที่มีอากู๋มาแทนที่ให้ค้นหานู้นนี่ด้วยความว่องไว
น้ำอัดลม ลังล่างดูรู้ว่าเป็น pepsi แต่ว่าลังบนเนี่ย เค้าเกิดไม่ทันเจรง ๆ
เตารีดเหล็ก ใส่ถ่านติดไฟแดง ๆ รองบนใบตอง ภาพนี้เด้งดึ๋งเข้ามาในความทรงจำ
คนรีดเป็นน้าสาวที่ตอนนั้นยังเป็นวัยรุ่น มี Tar la la ในวัย 5-6 ขวบ นั่งให้กำลังใจ
กล่องข้าว เหมือนว่าจะยังเคยได้ใช้ตอนไปเดินป่า สมัยสาว ๆ
ปฏิทิน มีไฟด้วย อันนี้ไม่เคยเห็นอ่า
ร้านขายของเล่น
สะกดสายตาสองเรา วนเวียนเข้าออกกันอยู่หลายรอบ
ของเคยเล่นทั้งน๊านเลยยย
ปิ่นโตพลาสติก
อันนี้เป็นหุ่น เอาไว้พันแล้วโยนจากที่สูง ให้เหมือนคนกระโดดร่ม
ลูกอม.. ยังจำรสชาติได้อย่างชัดเจน
เคยกินมาหมดแระ ทั้งตู้เลย
ลูกข่าง กับ spring นั่น มักจะได้แถมมากับการซื้อรองเท้าตอนเปิดเทอม
จำได้ว่าชอบเอา spring มาเล่นตรงบันได วางไว้ขั้นบนสุด แล้วให้มันเด้งลงมาเรื่อย ๆ
อันนี้เอามาต่อคล้องกันเป็นสร้อย คิดย้อนกลับไป ไร้สาระเนอะ
เสียบต่อ ๆ กัน คล้าย เลโก้เนอะ
อันนี้ชอบนะ เอามาปั่นให้มันหมุน ๆ ได้ทั้งคว่ำ ทั้งหงาย เพลิน ๆดี
ขนมคลาสสิค.. นึกถึงโฆษณา ตัวตลกขายาว ๆ
ร้านขายยา อันนี้ยังพอหาดูได้อยู่
อันนี้เครื่องมืออะไรไม่รู้ อยู่ในร้านขายยา
มองผ่านไปที่ลูกอมเม็ดเหลือง ๆ นั่น
จำได้ว่าครั้งแรกที่ได้กิน แทบอยากจะบ้วนใส่คนให้ แบบว่ามันปรี๊ดดดดด
ตู้เพลง
Toy R Us... ใช่หราาา
อันนี้ชอบเล่น กดตรงใต้ฐาน ยีราฟมันจะคอพับคออ่อน ตัวล้มลง พอปล่อยแล้วก็ดึ๋งกลับขึ้นมา
อันนี้ไม่เคยเห็น เค้าให้จับตรงฐานแล้วหมุนกระดาษดำ ๆ นั่น
แล้วมองผ่านช่องกระดาษไปด้านใน จะเห็นภาพต่อเนื่องกัน
นอกจากของโชว์แล้ว มีขายด้วยค่ะ ราคาก็ย่อมเยาว์ ไม่แพงเหมือนตามตลาดเก่าที่เคยเห็น
ใช้เวลาอยู่ชั้นแรกนานพอสมควร
ของต่าง ๆ ที่เห็น พาผู้ใหญ่ใจเด็กจินตนาการย้อนกลับไปสมัยวัยละอ่อน
จะว่าไป ของเล่น ขนม บางอย่าง ยังคงคุ้นตา สมัยแม่ยังอยู่ เวลาเรากลับบ้านไป ก็จะเดินสำรวจทั่วร้าน ของที่แม่ขาย ก็จะคล้าย ๆ กันนี้ ปะปนกันไป ของสมัยเก่า ของสมัยใหม่
จะว่าไป ปัจจุบัน ตามต่างจังหวัดบางที่ก็ยังมีขายของพวกนี้อยู่เลยนะ
ขึ้นบันไดไม้ไปชั้น 2 เป็นพวกข้าวของเครื่องใช้ เครื่องไม้เครื่องมือ ร้านถ่ายรูป โรงภาพยนตร์
อาซิ้มที่ไหนเนี่ย
เก่าจนไม่กล้าจับ เด๋วกระดาษหลุดติดนิ้ว
อันนี้เป็นเครื่องพิมพ์ลายลงบนเล็บมือ สามารถถ่ายรูปแล้วพิมพ์รูปเราลงบนเล็บได้ด้วย
เครื่องคิดเลข ไม่เคยใช้เป็น
หวีเสนียดดดดด เด็กผู้หญิงทั้งหลาย ต้องผ่านการใช้หวีเน๊ ฟันเฟริม!!
เห็นอันนี้ นึกถึงแม่ แม่ชอบเก็บอุปกรณ์เย็บผ้าไว้ในกระป๋องคุกกี้ แบบนี้เปี๊ยบเลย
ชั้น 3 ชั้นสุดท้าย เป็นสถานที่ราชการ เทคโนโลยี และความบันเทิง พ่วงด้วยห้องเรียนโต๊ะไม้
XYZ อร๊ายย เค้ามี เค้ามี เป็นเทปม้วนแรกของเค้า แม่ซื้อให้ฟัง
พี่ปุ๊ กลายเป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์ซะแระ
คิดถึงอันนี้เนอะ สิ่งเล็ก ๆที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกมากมาย
นั่งรอข้อความ ส่งข้อความกัน กุ๊กกิ๊กอ่ะ
มือถือเครื่องแรก และ ปัจจุบัน
ห้องเรียนในความทรงจำ
ทายสิ ทายสิ .... มันคือเครื่องถ่ายเอกสารจ๊า
มีแม่ลูกคู่นึง เดินอยู่ไม่ไกลกัน ลูกสาวคาดว่าน่าจะไม่เกิน 10 ขวบ คุยกันหนุงหนิง
แม่ก็โม้ใหญ่ ว่าสมัยแม่นั่งโต๊ะแบบนี้ ใช้ข้าวของแบบนี้
ลูกสาวก็แลดูจะอึ้ง ๆ กับข้าวของเครื่องใช้ในวัยของแม่
เดินครบทั้ง 3 ชั้น กลับลงมาซื้อของที่เล็ง ๆ ไว้ ที่ระลึกเล็กๆ น้อย ๆ
กบเหลาดินสอเป็ดฟ้า สมุดภาพรวมเล่ม ร.5 , ร.9
อันนี้ชอบมากอ่ะ เล่นอยู่หลายรอบ เจ้าเหมียวได้ไปหลายเหรียญเลย
ใครผ่านมาแถวนี้ ลองแวะมาเที่ยวดูนะคะ
ค่อยๆ พิจารณากับสิ่งต่าง ๆ อย่างไม่รีบร้อน
ให้สมกับความตั้งใจของคณะกรรมการอาสาสมัคร ที่ทำงานกันโดยไม่ได้รับเงินเดือน
เพียงแค่อยากให้ " ของเก่า " ที่ถูกทิ้งขว้าง กลายเป็นสิ่งมีคุณค่า… ที่น่าจดจำ